ชนิดของวัชพืช

Posted on Updated on

ชนิดของวัชพืช
ก่อนที่จะกล่าวถึงแนวทางหรือวิธีการในการป้องกันจำจัดวัชพืชเราควรทำความเข้าใจเสียก่อนว่า วัชพืชคืออะไร ตากปกติคำนิยามที่ใช้อยู่ในทางเกษตรก็คือ พืชที่ขึ้นผิดที่ พืชที่ขึ้นอยู่ในที่ที่คนไม่ต้องการ พืชที่ยังหาประโยชน์ไม่พบ หรือพืชซึ่งมีผลกระทบต่อกิจกรรมหรือความต้องการของคน อย่างไรก็ตามคำนิยามเหล่านี้ก็ยังมีข้อจำกัด Sagar (1968) ให้คำนิยามว่า วัชพืชคือพืชอะไรก็ได้ซึ่งถ้ายอมให้ขึ้นอยู่ในระบบแล้วจะทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ซึ่งดูแล้วก็น่าจะเป็นคำนิยามที่เหมาะสมที่สุด

จากความหมายเหล่านี้พืชแต่ละชนิดมีโอกาสกลายเป็นวัชพืชได้เป็นต้นว่า ข้าวที่งอกอยู่ในแปลงถั่วเหลืองก็ถูกจัดเป็นวัชพืชได้ หรือหญ้าแพรก (Cynodon dactylon) ที่ขึ้นอยู่ในนาข้าวก็เป็นวัชพืช แต่ถ้าปลูกเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ก็ไม่เป็นวัชพืช เพราะฉะนั้นพืชของคนคนหนึ่งอาจเป็นวัชพืชของอีกคนหนึ่งได้ ในจำนวนพืชที่มีเมล็ดทั้งหมดประมาณ 250,000 ชนิด มีอยู่เพียง 250 ชนิดหรือประมาณ 0.1 เปอร์เซ็นต์ที่จัดเป็นวัชพืชสำคัญในพื้นที่ที่ทำการเกษตร และที่จัดเป็นวัชพืชร้ายแรงจริงๆ มีอยู่เพียง 25 ชนิด หรือประมาณ 0.01 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น (Ross and Lembi, 1985)

การจำแนกชนิดของวัชพืช ( weed classification )

1. จำแนกตามวงจรชีวิต ( life cycle )จะบอกให้ทราบถึงความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับการจัดการต่างๆ ในระบบการปลูกพืช โดยแบ่งออกเป็น

1.1 วัชพืชฤดูเดียว/ปีเดียว/ล้มลุก ( annual weeds )  มีอายุเพียงฤดูเดียวหรือปีเดียว ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด หลังจากงอก ออกดอก ผลิตเมล็ดแล้วก็ตาย เช่น

  • ประเภทใบแคบ ได้แก่ หญ้านกสีชมพู หญ้าตีนนก หญ้าตีนกา และหญ้าดอกขาว เป็นต้นตีนนก03
  • ประเภทใบกว้างได้แก่ ผักยาง ผักโขม ปอวัชพืช ผักเบี้ยหิน สาบแร้งสาบกา ผักคราดหัวแหวน หญ้ากำมะหยี่ เทียนนา และกะเม็ง เป็นต้น  ใบผักเบี้ยหิน

 1.2 วัชพืช ข้ามปี/หลายฤดู ( perenial weeds )มีอายุมากกว่า 2 ฤดู สามารถสร้างส่วนขยายพันธุ์แบบไม่ใช้เพศได้อีกนอกเหนือจากการผลิตเมล็ดตามปกติ เช่น

  • ประเภทใบแคบ เช่น หญ้าแพรก หญ้าตีนติด และหญ้าชันกาด เป็นต้น
  • ประเภทใบกว้าง เช่น ไมยราบเครือ สาบเสือ และตดหมูตดหมา เป็นต้น
  • ประเภทกก เช่น แห้วหมู และกกดอกตุ้ม

ไมยราพ6

2. จำแนกตามสันฐานวิทยา

2.1 ใบแคบ ( narrowleaf weeds )

หมายถึง วัชพืชพวกหญ้า (grasses) ในตระกูล Gramineae (Poaceae) และกก (sedges) ในตระกูล Cyperaceae หรือวัชพืชในตระกูลอื่นๆ ซึ่งมีแผ่นใบบาง แคบ เรียว ยาว และเส้นใบขนานกับเส้นกลางใบ เช่น
– หญ้าข้าวนก ( Echinochloa crus-galli )
– หญ้าตีนกา ( Eleusuine indica )

   2.2 ใบกว้าง ( broadleaf weeds )

หมายถึง วัชพืชในตระกูลอื่นๆ ทั้งพวกใบเลี้ยงเดี่ยวและใบเลี้ยงคู่ สังเกตจากใบเมื่อแผ่เต็มที่จะกว้าง และมีเส้นใบแบบร่างแห เช่น ผักโขมหนาม ( Amaranthus spinosus ) ขาเขียด ( Monochoria vaginlis )

3. จำแนกตามนิเวศวิทยา

 3.1 วัชพืชบก ( terrestrial weeds )

    หมายถึง วัชพืชที่ขึ้นอยู่บนพื้นดิน พบอยู่โดยทั่วไปในพื้นที่ทำการเกษตร ที่รกร้างริมถนน ที่ว่างระหว่างอาคารบ้านเรือน เช่น ไมยราบ (Mimosa pudica ) สาบแร้งสาบกา ( Agertum conyzoides )

3.2 วัชพืชน้ำ ( aquatic weeds )

หมายถึง วัชพืชที่มีลำต้น หรือส่วนของลำต้นเจริญเติบโตอยู่ในน้ำ วัชพืชพวกนี้มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับแหล่งน้ำต่างๆ แบ่งออกได้ 4 กลุ่ม ( สุชาดา , 2530) คือ

ก. วัชพืชลอยน้ำ (floating weeds) ส่วนของลำต้นจะลอยอยู่ตามผิวน้ำ รากอาจหยั่งลึกลงถึงดินใต้น้ำก็ได้ถ้าหากขึ้นอยู่บริเวณน้ำตื้นๆ เช่น ผักตบชวา (Eichhornia crassipes) จอก (Pistia stratiotes)

 ข. วัชพืชใต้น้ำ ( submerged weeds ) เป็นพวกที่มีลำต้นเจริญอยู่ใต้น้ำหรือทอดไปตามผิวน้ำ เช่น ดีปลีน้ำ (Potamogeton malaianus) สาหร่ายหางกระรอก (Hydrilla verticillata)

ค. วัชพืชโผล่เหนือน้ำ (emerged weeds) ชอบขึ้นอยู่บริเวณน้ำตื้น รากหยั่งลงดินส่งใบและลำต้นโผล่พ้นน้ำ เช่น ธูปฤาษี ( Typha angustifolia ) เทียนนา ( Jussiaea linifolia )

 ง. วัชพืชชายน้ำ ( marginal weeds ) ชอบขึ้นอยู่บริเวณชายน้ำ หรือริมตลิ่ง เช่น ลำเอียก (Coix aquatica ) เอื้องเพ็ดม้า ( Poltgonum tomentosum )

3.3 วัชพืชอาศัยพืชอื่น ( parasitic weeds )

หมายถึง วัชพืชที่มีรากหรือ haustoria แทงเข้าไปดูดน้ำเลี้ยงและอาหารจากพืชที่มันอาศัยอยู่ เช่น หญ้าแม่มด ( Striga asiarica ) กาฝากมะม่วง ( Dendrohthoe pentandra )

3.4 วัชพืชอากาศ ( epiphytes weeds )

เช่น moss, fern, lichen

4. จำแนกตามลักษณะทางพฤกษศาสตร์

Plart kingdom
Phylum
Class
Order
Family
Genus
Species
Varieties

          วัชพืช แต่ละชนิดจะมีชื่อวิทยาศาสตร์เพียงชื่อเดียว แต่อาจมีชื่อสามัญ (common name) มากมายหลายชื่อแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น เพื่อป้องกันความสับสนในการเรียกชื่อจึงใช้ชื่อวิทยาศาสตร์เป็นหลักในการ ติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ชื่อวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่มาจากภาษากรีก หรือลาติน ประกอบด้วย 2 พยางค์ พยางค์แรกเป็นชื่อ genus ตามด้วยชื่อ species ตามระบบของการตั้งชื่อที่เรียกว่า “ binomial system ”

  5. จำแนกตามลักษณะทางสรีรวิทยา

  แบ่งออกเป็น
5.1 วัชพืช C3 หมาย ถึง วัชพืชที่มีการสังเคราะห์ด้วยแสงผ่าน Calvin-Benson cycle ได้สารประกอบเสถียรตัวแรก คือ phosphoglyceric acid ซึ่งมีคาร์บอน 3 ตัว วัชพืชพวกนี้ ได้แก่ สองหาง (Bidens pilosa) ไมยราบ (M. pudica)

        5.2 วัชพืช C4 หมายถึง วัชพืชที่มีกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงแล้วได้สารประกอบเสถียรตัวแรกมีคาร์บอน 4 ตัว (malic acid) วัชพืชพวกนี้มีประสิทธิภาพในการสังเคราะห์ด้วยแสงสูงกว่าพวกแรก เช่น ผักโขม (Amaranthus sp.) แห้วหมู (C. rotundus) หญ้าตีนนก (Digitaria sp.)

5.3 วัชพืชพวก CAM วัชพืชพวกนี้มีกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงทั้งแบบ C4 และ C3 โดยปากใบจะเปิดรับก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์เฉพาะเวลากลางคืน ส่วนกลางวันปากใบจะปิด วัชพืชพวกนี้ไม่ค่อยมีความสำคัญในพื้นที่ทำการเกษตรทั่วๆ ไป ส่วนใหญ่จะพบอยู่ในเขตแห้งแล้ง เช่น กระบองเพชร ( Opuntia sp.)

6. จำแนกตามสภาพการงอก

6.1 Hydrophytes เป็นวัชพืชงอกใต้น้ำหรือในน้ำ เช่น วัชพืชในนาข้าว ; ผักปอด , ขาเขียด , กกขนาก

6.2 Hygrophytes เป็นวัชพืชงอกในดินแฉะ (ที่มีความชื้น 70-80%) เช่น หญ้านกสีชมพู , หนวดปลาดุก , กกทราย

6.3 Mesophytes เป็นวัชพืชงอกในดินชื้น (ที่มีความชื้น 40-60%) เช่น ผักเบี้ยใหญ่ , ผักโขม , หญ้าตีนนก

ที่มา l3nr.org

ใส่ความเห็น